วันนี้ (29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559) เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ศาสตราจารย์ นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และ ศาสตราจารย์ นายแพทย์สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้ร่วมกันประกาศผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559 ณ โถงหน้าห้องมหิดลอดุลเดช อาคารหอสมุดศิริราช ชั้น 4 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับผู้ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2559 ได้แก่
- นายชโนดม เพียรกุศล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นายณัฐภัทร ศิริอังกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- นายธนกฤต พงพิทักษ์เมธา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นายบุญยเกียรติ ธรรมเศรษฐ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นายวิณห์ กุลวิชิต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทั้งนี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559 ทั้งสิ้น 12 ราย จาก 5 สถาบัน โดยผ่านเกณฑ์ตามคุณสมบัติของโครงการเยาวชนฯ 5 ราย ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการเยาวชนฯ ได้พิจารณากลั่นกรองคัดเลือกและนำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาตัดสินเป็นขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ตามมติที่ประชุมกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ครั้งที่ 2/ 2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยที่รักและมุ่งมั่นในวิชาชีพด้านการแพทย์ ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ดำเนินการคัดเลือกโดยคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการคัดเลือก โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เมื่อคัดเลือกได้ผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการเยาวชนฯ จะนำรายชื่อแจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน และถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการตัดสิน ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับพระราชทานทุนไปปฏิบัติงานด้านการศึกษาวิจัย ฝึกปฏิบัติวิชาชีพ หรือทำงานด้านการพัฒนาชุมชน ในต่างประเทศหรือในประเทศเป็นเวลา 1 ปี โดยจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ และให้นับเวลาการไปครั้งนี้ รวมเป็นเวลาของการใช้ทุนหลังจากศึกษาแพทย์จบแล้วด้วย
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559
นายชโนดม เพียรกุศล
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายชโนดม เพียรกุศล เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความสนใจในเรื่องการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน สำหรับประชาชนอย่างครบวงจร เพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของ ผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลในประเทศไทย เนื่องจากปัจจุบันภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในประเทศไทย การลดอัตราการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลสามารถทำได้โดยการเริ่มปฎิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยผู้พบเห็นเหตุการณ์อย่างทันที ดังนั้นการทำให้ประชาชนทั่วไปมีความรู้และความตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับ การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานนั้นจะสามารถเพิ่มอัตราการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยผู้พบเห็นเหตุการณ์ได้ โดยหลักสูตรการสอนการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานควรได้รับการบรรจุลงในหลักสูตรของสถาบันการศึกษาต่างๆ และควรมีเปิดสอนสำหรับประชาชนทั่วไป สำหรับประเด็นอื่นที่นายชโนดม สนใจจะไปศึกษา ประกอบด้วย เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ การบันทึกลงทะเบียน ข้อมูลการศึกษาวิจัย ปัจจัยด้านงบประมาณ และ นโยบายกฎหมายจากทางภาครัฐบาลตลอดจนเอกชนที่คอยช่วยสนับสนุน
โดย นายชโนดม เพียรกุศล มีเกียรติประวัติต่างๆ อาทิ
ปีการศึกษา 2559 |
|
ปีการศึกษา 2558 |
|
ปีการศึกษา 2557 |
|
ปีการศึกษา 2556 |
|
ปีการศึกษา 2555 |
|
ปีการศึกษา 2554 |
|
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559
นายณัฐภัทร ศิริอังกุล
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นายณัฐภัทร ศิริอังกุล เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความสนใจเกี่ยวกับความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจอันเนื่องมาจากภาวะธาตุเหล็กเกิน (iron overload cardiomyopathy) ซึ่งเป็นสาเหตุแห่งการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย (thalassemia) แม้ธาลัสซีเมียจะเป็นโรคทางพันธุกรรมชนิดถ่ายทอดด้วยยีนเดียว (monogenic disorder) ที่พบได้บ่อยที่สุดในโลก ทว่าภาวะแทรกซ้อนของโรคดังกล่าวยังไม่ได้รับการวิจัยอย่างเพียงพอและยังปราศจากการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ข้อจำกัดนี้เป็นที่มาของการมุ่งศึกษากลไกทางพยาธิสรีรวิทยาของความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจอันเนื่องมาจากภาวะธาตุเหล็กเกิน โดยอาศัยวิธีทางอณูชีววิทยาสืบค้นความผิดปกติของการสื่อสัญญาณด้วยแคลเซียม (calcium signaling) ในระดับส่วนย่อยของเซลล์ (subcellular microdomain) ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะดังกล่าวจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ทางคลินิกอย่างกว้างขวางในอนาคต อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยธาลัสซีเมียจำนวนมากทั่วโลกสืบไป
โดยนายณัฐภัทร ศิริอังกุล มีเกียรติประวัติต่าง ๆ อาทิ
ปีการศึกษา 2558 |
|
ปีการศึกษา 2557 |
|
ปีการศึกษา 2556 |
|
ปีการศึกษา 2554 – 2558 |
|
ปีการศึกษา 2554 |
|
ปีการศึกษา 2552 |
|
ปีการศึกษา 2551 – 2553 |
|
ปีการศึกษา 2548 – 2550 |
|
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559
นายธนกฤต พงพิทักษ์เมธา
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายธนกฤต พงพิทักษ์เมธา เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจในดูแลรักษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของโรคผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะการช่วยคัดกรองและวินิจฉัยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดปัญหาภาวะสมองเสื่อมตามมา (Post stroke dementia) โดยอาศัยการใช้แบบสอบถามทางด้านพุฒิปัญญา (Cognitive assessment tools) เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศโดยเฉพาะในสังคมไทยที่กำลังก้าวเข้าไปสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะเป็นสาเหตุทำให้เกิดความพิการหรือเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ อาการและอาการแสดงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมักจะมาด้วยอาการอ่อนแรงแขนขาครึ่งซีกเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยอีกจำนวนหนึ่งเกิดปัญหาบกพร่องทางด้านพุฒิปัญญา (Cognitive function) หรือภาวะสมองเสื่อม (Dementia) ภายหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อันก่อให้เกิดภาระต่อทั้งตัวผู้ป่วย ครอบครัว และระบบสุขภาพในระยะยาว โดย World Stroke Proclamation day 2015 ได้กล่าวถึง ภาวะสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง (Vascular dementia) ว่าเป็นภาวะที่ถูกละเลย และเป็นโรคสำคัญที่ต้องช่วยกันดูแลรักษา เพราะการตรวจคัดกรองโรคเพื่อวินิจฉัยและให้การรักษาได้อย่างรวดเร็วจะส่งผลในทางที่ดีต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ดังนั้นการศึกษาวิจัยด้านการคัดกรองและวินิจฉัยภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองจะช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาดังกล่าวได้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นต่อไป
โดยนายธนกฤต พงพิทักษ์เมธา มีเกียรติประวัติต่างๆ อาทิ
ปีการศึกษา 2559 |
|
ปีการศึกษา 2558 |
|
ปีการศึกษา 2557 |
|
ปีการศึกษา 2556 |
|
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559
นายบุญยเกียรติ ธรรมเศรษฐ์
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายบุญยเกียรติ ธรรมเศรษฐ์ เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจในการนำการศึกษาทางอณูพันธุศาสตร์ (Molecular genetics) มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาพยาธิกำเนิดและพยากรณ์การเกิดโรคครรภ์เป็นพิษ ในปัจจุบัน ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าพยาธิกำเนิดของโรคครรภ์เป็นพิษเกิดจากอะไรและเป็นที่ทราบกันดีว่าโรคครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้หญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่เป็นครรภ์แรก ทำให้การทำนายว่าผู้หญิงคนใดจะเกิดภาวะนี้เป็นเรื่องยาก ดังนั้นการนำเอาความรู้ทางอณูพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับการศึกษาในโรคครรภ์เป็นพิษจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีในการหาคำตอบ จึงเป็นที่มาของการศึกษาสารพันธุกรรม ไมโครอาร์เอ็นเอ (miRNA) ในตัวอย่างเลือดจากผู้หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ เพื่อเปรียบเทียบหาชนิดและหน้าที่ของไมโครอาร์เอ็นเอที่แสดงออกต่างกันเมื่อเทียบกับคนปกติ รวมทั้งนำไมโครอาร์เอ็นเอชนิดที่สนใจมาใช้ในการพยากรณ์การเกิดโรคครรภ์เป็นพิษ โดยหวังว่าหากสามารถพบไมโครอาร์เอ็นเอที่อธิบายพยาธิกำเนิดของโรค ก็จะสามารถเข้าใจกลไกของโรค และสามารถพัฒนาวิธีการรักษาและป้องกันการเกิดโรคครรภ์เป็นพิษได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนนำมาใช้ในการพยากรณ์การเกิดโรคเพื่อที่จะให้การป้องกันและรักษาก่อนที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ทั้งในมารดาและทารก
โดยนายบุญยเกียรติ ธรรมเศรษฐ์ มีเกียรติประวัติต่างๆ อาทิ
ปีการศึกษา 2559 |
|
ปีการศึกษา 2558 |
|
ปีการศึกษา 2557 |
|
ปีการศึกษา 2556 |
|
ปีการศึกษา 2555 |
|
ปีการศึกษา 2554 |
|
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2559
นายวิณห์ กุลวิชิต
คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายวิณห์ กุลวิชิต เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจศึกษาวิจัยในหัวข้อการทำนายการฟื้นตัวของไตในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันจากการตรวจตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใน Exosome จากปัสสาวะ ภาวะไตวายเฉียบพลันเป็นภาวะที่พบได้บ่อย มีความรุนแรง และก่อให้เกิดผลกระทบมากมายต่อผู้ป่วย เช่นความผิดปกติของสมดุลน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย หรือ ภาวะไตวายเรื้อรัง ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงเป็นอย่างมาก หากแพทย์สามารถทำนายการฟื้นตัวของไตในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันได้ก็จะสามารถเลือกวิธีการดูแลรักษาที่เหมาะสมที่สุดให้แก่ผู้ป่วยและลดการเกิดผลแทรกซ้อนของภาวะไตวายเฉียบพลัน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการทำนายการฟื้นตัวของไตในผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันทำได้ค่อนข้างยาก ดังนั้นการประสานนำความรู้ชีววิทยาเชิงโมเลกุลและชีววิทยาเชิงระบบเข้ามาช่วยศึกษาอาจนำไปสู่การค้นพบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่จะสามารถทำนายถึงการฟื้นตัวของไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการศึกษานี้สนใจศึกษาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพใน Exosome ของปัสสาวะ โดย Exosome เป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กที่ถูกสร้างและหลั่งออกมาจากเซลล์เพื่อการสื่อสารระหว่างเซลล์ ความสำเร็จของการศึกษานี้จะสามารถนำไปสู่การรักษาที่แม่นยำและเหมาะสมกับผู้ป่วยภาวะไตวายเฉียบพลันแต่ละคนได้ในอนาคต
โดยนายวิณห์ กุลวิชิต มีเกียรติประวัติต่างๆ อาทิ
ปีการศึกษา 2559 |
|
ปีการศึกษา 2558 |
|
ปีการศึกษา 2557 |
|
ปีการศึกษา 2556 |
|