มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
ร่วมกับ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล และ กระทรวงการต่างประเทศ
แถลงข่าว
ผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2553
—————————————–
วันนี้ ( 7 มี.ค. 54) เวลา 14.00 น. ศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์ สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล รองศาสตราจารย์นายแพทย์อภิชาติ อัศวมงคลกุล ประธานคณะกรรมการดำเนินการโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และศาสตราจารย์นายแพทย์วันชัย วนะชิวนาวิน ประธานคณะกรรมการคัดเลือกผู้รับทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้ร่วมกันแถลงข่าวผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ 2 ประจำปี 2553 ณ โถงหน้าห้องมหิดลอดุลเดช อาคารหอสมุดศิริราช ชั้น 4 รพ.ศิริราช
สำหรับผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2553 ได้แก่
1. นางสาวจุฑามาศ เศารยะ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2. นักเรียนแพทย์ทหาร ทรรศนีย์ ชาติเมธากุล วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
3. นางสาวนฤชร กิจไพศาลรัตนา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. นายภรัณยู จูละยานนท์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
5. นายอนาวิล สงวนแก้ว คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2553 ทั้งสิ้น 19 ราย จาก 8 สถาบัน โดยผ่านเกณฑ์ตามคุณสมบัติของโครงการเยาวชนฯ 9 ราย คณะกรรมการคัดเลือกผู้ได้รับพระราชทานทุนของโครงการเยาวชนฯได้พิจารณากลั่นกรอง คัดเลือก และนำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาตัดสินเป็นขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ตามมติที่ประชุมกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ครั้งที่ 2/2550 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนไทยที่รักและมุ่งมั่นในวิชาชีพด้านการแพทย์ ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ดำเนินการคัดเลือกโดยคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เมื่อคัดเลือกได้ผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการเยาวชนฯ จะนำรายชื่อแจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน และถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการตัดสิน
ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับพระราชทานทุนไปศึกษาวิจัย ฝึกปฏิบัติวิชาชีพ หรือทำงานด้านการพัฒนาชุมชน ในต่างประเทศหรือในประเทศเป็นเวลา 1 ปี โดยจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ และให้นับเวลาการไปครั้งนี้ รวมเป็นเวลาของการใช้ทุนหลังจากศึกษาแพทย์จบแล้วด้วย
นางสาวจุฑามาศ เศารยะ
นางสาวจุฑามาศ เศารยะ เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจที่จะทำโครงการศึกษาวิจัยด้าน ยุทธศาสตร์จุดพลังเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องฉุกเฉินในประเทศไทย โดยมีแนวคิดจากการที่ชื่นชอบการดูแลผู้ป่วยแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประกอบกับสาขานี้ ยังมีโอกาสพัฒนาอีกหลายด้านในประเทศไทย ทั้งการดูแลผู้ป่วยก่อนมาโรงพยาบาลและภายหลัง โดยปัญหาที่พบมากสุดคือ ปัญหาผู้ป่วยมากเกินศักยภาพของห้องฉุกเฉินนั้นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุก่อให้เกิดภยันตรายทั้งต่อคุณภาพในการดูแลรักษา ปัญหาทางจริยเวชศาสตร์ ผลกระทบต่อโรงพยาบาล เป็นต้น จึงคิดว่าควรจะค้นหาแนวทางการปรับองค์ความรู้จากวิทยากรต่างประเทศเพื่อนำมาพัฒนาระบบบริหารจัดการห้องฉุกเฉินในประเทศไทย
|
|
นักเรียนแพทย์ทหารทรรศนีย์ ชาติเมธากุล นพท.ทรรศนีย์ ชาติเมธากุล เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า มีความสนใจที่จะทำโครงการศึกษาวิจัยด้านการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่เคยได้ยินเรื่องวัดพระบาทน้ำพุมาเป็นเวลานาน แล้วมีความรู้สึกประทับใจในการใช้ศาสนามาประกอบการบำบัด และบรรเทาความทุกข์ในจิตใจให้กับผู้ป่วย รวมถึงการที่พระสงฆ์ซึ่งเป็นเหมือนกับศูนย์รวมทางจิตใจของสังคมไทย มามีบทบาทเป็นผู้นำในการให้การดูแลและช่วยเหลือผู้ป่วยเหล่านี้ จึงมีความคิดว่าจะหาแนวทางเพื่อนำมาปรับใช้ และช่วยในการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้ายในอนาคตต่อไป
|
นางสาวนฤชร กิจไพศาลรัตนา |
นายภรัณยู จูละยานนท์
นายภรัณยู จูละยานนท์ เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความสนใจที่จะทำโครงการศึกษาวิจัย การสร้างแบบทดสอบเพื่อคัดกรองภาวะ amnestic mild cognitive impairment สำหรับผู้สูงอายุในทุกระดับการศึกษา เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทอันเป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมที่พบมากที่สุด และผู้ป่วยโรคดังกล่าวเกือบทั้งหมดเป็นผู้สูงอายุ จึงมีความมุ่งหวังในการพัฒนาแบบทดสอบดังกล่าวเพื่อตรวจคัดกรองภาวะ aMCI เพื่อพัฒนาแบบทดสอบดังกล่าวให้มีความแม่นยำสูง และนำมาใช้แทน neuroimaging ในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการรักษาของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสในภูมิภาคต่างๆ ของโลก
|
นายอนาวิล สงวนแก้ว นายอนาวิล สงวนแก้ว เป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล มีความสนใจที่จะทำโครงการศึกษาวิจัยนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาโรคอ้วน โดยมีแรงบันดาลใจจากการเห็นผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นที่มาพบแพทย์ด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น ทำให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันโรคด้วยวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพและสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง ซึ่งปัจจุบันนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ คือภาวะอ้วน จึงพยายามค้นหาความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันโรคอ้วน |