“รัฐบาลที่ร่ำรวยไม่ได้พยายามต่อสู้กับโรคร้ายแรงระดับโลกก็เพราะว่าประเทศที่พัฒนาแล้วไม่มีโรคเหล่านี้ ภาคเอกชนไม่ได้ค้นคว้าผลิตวัคซีนและเวชภัณฑ์สำหรับรักษาโรคก็เพราะว่าประเทศกำลังพัฒนาที่มีผู้ป่วยเป็นโรคเหล่านี้ไม่มีกำลังซื้อ และประเทศกำลังพัฒนาก็ไม่ได้มีความพยายามเพียงพอที่จะส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในประเทศของตน เราจึงต้องการพลังจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมการค้นพบและการกระจายตัวยาใหม่ๆ ให้กับประชากรโลกที่ยากจน”
จากปาฐกถาโดย บิลล์ เกตร์
ที่การประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก 2548
รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลเป็นรางวัลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นประจำทุกปีแก่บุคคลหรือองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ทางด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของโลก พิธีพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลถูกจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือน มกราคม พ.ศ. 2536 สำหรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2535 และจะครบรอบ 15 ปีของการพระราชทานรางวัลฯ ในปี พ.ศ. 2550
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ถูกจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 15 ปีรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล การประชุมนี้ ซึ่งจะมีการจัดการประชุมเป็นประจำทุกปี เพื่อมุ่งเน้นประเด็นสำคัญในด้านสุขภาพอนามัยที่มีผลกระทบในระดับโลก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี พ.ศ. 2550 ณ โรงแรมอิมพีเรียล ควีนส์ปาร์ค ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2550
หัวข้อการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปีนี้คือ “”การเข้าถึงเทคโนโลยีด้านส
วัตถุประสงค์ สำหรับการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้แก่
1. เพื่อจัดการประชุมนานาชาติในหัวข้อที่เกี่ยวกับการสาธารณสุขที่สำคัญระดับโลก
2. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักวิทยาศาสตร์แนวหน้าและผู้นำทางด้านสาธารณสุขทั่วโลก
3. เพื่อมุ่งเน้นการจัดการประชุมที่เป็นระบบและเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างสรรค์นโยบายที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพของประชาคมโลก
4. เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเสริมสร้างเครือข่าย ศักยภาพ และความเป็นผู้นำ ของนักวิทยาศาสตร์ ผู้นำและผู้บริหารด้านสาธารณสุขระดับโลก
วาระการประชุมประกอบด้วย 3 หัวข้อย่อย ได้แก่
ก. ความพร้อมและการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพในประเทศกำลังพัฒนา
ข. สิทธิบัตรยา (TRIPS) และการเข้าถึงเทคโนโลยีด้านสุขภาพที่จำเป็น
ค. การสั่งสมทรัพยากรและการศึกษาระบบค้นคว้าวิจัยสำหรับกลุ่มโรคประเภท I และ II
ผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประกอบด้วยนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้า ผู้นำและผู้บริหารด้านการสาธารณสุขระดับโลก กว่า 200 ท่าน เดินทางมาร่วมกันปรึกษาและเสนอแนวคิดที่ชัดเจนในหัวข้อด้านสาธารณสุขที่มีผลกระทบต่อประชาคมโลก
การประชุมวิชาการรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ขอสงวนไว้สำหรับผู้ได้รับเชิญและผู้สนใจที่แจ้งความจำนงจะเข้าร่วมการประชุม
ศ. น.พ. วิจารณ์ พานิช
ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ
มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmaconference.org