วันนี้ (2 ธันวาคม พ.ศ. 2567) เวลา 13.30 น. ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นายแพทย์สุพัฒน์ วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล และ ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์สมภพ ลิ้มพงศานุรักษ์ ประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ได้ร่วมกันแถลงผลการตัดสิน ผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2567 ณ ห้องจุฬาภรณ์ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
สำหรับผู้ได้รับพระราชทานทุน “โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ประจำปี 2567 ได้แก่
- นายเขมวิศว์ ศิริวงศ์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- นายคณาธิป จงมีความสุข คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นางสาวชุติพร ชาญณรงค์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นายฐิติพัฒน์ พัฒนาประทีป คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
- นางสาวปัณณพร การกลจักร คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ มีผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ได้รับพระราชทานทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2567 ทั้งสิ้น 21 คน จากสถาบันการศึกษาแพทยศาสตร์ 11 แห่ง ผ่านเกณฑ์ตามคุณสมบัติของโครงการเยาวชนฯ 5 คน ซึ่งคณะกรรมการคัดเลือกโครงการเยาวชนฯ ได้พิจารณาคัดเลือกและนำเสนอต่อคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน ได้พิจารณาตัดสินเป็นขั้นสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ ครั้งที่ 2/2550 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 เพื่อส่งเสริมเยาวชนไทยที่รักและมุ่งมั่นในวิชาชีพแพทย์ให้ดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาทสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ดำเนินการโดยคณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการดำเนินการ และคณะกรรมการคัดเลือก โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล เมื่อคัดเลือกได้ผู้ที่มีคุณสมบัติตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการเยาวชนฯ จะนำรายชื่อแจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการตัดสิน ผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับพระราชทานทุนไปปฏิบัติงานในต่างประเทศหรือในประเทศเป็นเวลา 1 ปี โดยจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ และให้นับเวลาการไปครั้งนี้ รวมเป็นเวลาของการใช้ทุนหลังจากศึกษาแพทย์จบแล้วด้วย
ดาวน์โหลดเอกสารงานแถลงข่าว >> PMAYP2567_pressrelease_TH <<
**********
นายเขมวิศว์ ศิริวงศ์
นายเขมวิศว์ ศิริวงศ์ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
เสนอโครงการ “การวินิจฉัยและรักษามะเร็งเต้านมด้วยการรักษาแบบมุ่งเป้าโดยอาศัย Telomerase reverse transcriptase gene complex”
เนื่องด้วยมะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในมะเร็งที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดทั้งในประเทศไทยและในระดับนานาชาติ
มีผู้ป่วยกว่าสองล้านรายต่อปีจากทั่วโลกได้รับการวินิจฉัยและกว่าหลายแสนคนต้องเสียชีวิตลง แต่มะเร็งชนิดนี้สามารถป้องกันไม่ให้เข้าสู่ระยะลุกลามได้ หากมีเครื่องมือในการคัดกรองและวินิจฉัยที่แม่นยำและรวดเร็วเพียงพอ นายเขมวิศว์ มีความสนใจที่จะพัฒนาการวินิจฉัย คัดกรอง และรักษามะเร็งเต้านมด้วยเทคนิคและวิธีการสมัยใหม่ที่มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น เพื่อลดภาระของโรค ภาระของระบบสาธารณสุข และสร้างสุขภาวะที่ดีให้แก่ประชากรไทยและประชากรโลกโดยทั่วกัน
โดย นายเขมวิศว์ ศิริวงศ์ มีเกียรติประวัติต่างๆ เช่น
ปี 2567 |
|
ปี 2566 |
|
ปี 2565 |
|
ปี 2564 |
|
ปี 2563 |
|
ปี 2561 |
|
นายคณาธิป จงมีความสุข
นายคณาธิป จงมีความสุข นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสนอโครงการ “การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยเสี่ยงทางหลอดเลือดต่อความเสื่อมถอยของสมอง”
เนื่องด้วยความเสื่อมถอยของสมอง (cognitive decline) เป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ของผู้ป่วย ครอบครัวและระบบสาธารณสุขโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม เครื่องมือที่นิยมใช้ในปัจจุบันสามารถแสดงความผิดปกติทางโครงสร้างของสมองได้ ก็ต่อเมื่อสมองเกิดความเสียหายอย่างชัดเจนในระยะท้ายแล้ว ส่งผลให้ไม่สามารถตรวจพบภาวะเสี่ยงตั้งแต่ช่วงแรกของการเสื่อมถอยและเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนป้องกันที่ทันท่วงที นายคณาธิป มีความสนใจในการศึกษาเทคนิคใหม่ในการตรวจการทำงานของสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (functional magnetic resonance imaging) ซึ่งสามารถตรวจจับความเสื่อมถอยของสมองอันมีผลมาจากปัจจัยเสี่ยงทางหลอดเลือดได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยคาดหวังว่าจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการตรวจวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และการออกแบบกลยุทธ์การป้องกันโรคสมองเสื่อมที่เหมาะสมกับปัจจัยเสี่ยงเฉพาะบุคคล ซึ่งจะช่วยลดอุบัติการณ์ของโรคสมองเสื่อมในอนาคต และส่งเสริมสุขภาพที่ดีของประชากรไทย
โดย นายคณาธิป จงมีความสุข มีเกียรติประวัติต่างๆ เช่น
ปี 2567 |
|
ปี 2566 |
|
ปี 2565 |
|
ปี 2564 |
|
ปี 2563 |
|
ปี 2562 |
|
นางสาวชุติพร ชาญณรงค์
นางสาวชุติพร ชาญณรงค์ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เสนอโครงการ “การเก็บรวมรวมและวิเคราะห์ข้อมูลกลุ่มประชากร
ขนาดใหญ่อย่างเป็นระบบ เพื่อสุขภาพสมองที่ดีในผู้สูงวัย”
ในขณะที่โลกก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย แม้ว่าประชากรจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ช่วงเวลาที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีไม่ได้
เพิ่มขึ้นตาม กลับเพิ่มปีที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย ดังนั้น เป้าหมายของการสูงวัยจึงไม่ใช่เพียงการยืดอายุขัย
แต่คือการเพิ่มคุณภาพชีวิตในช่วงเวลาที่เพิ่มขึ้น การที่ผู้สูงอายุจะมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากสุขภาพกายแล้ว สุขภาพสมอง (brain health) เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลโดยตรง โดยสุขภาพสมองคือความสามารถในการดำรงชีวิตและปรับตัวได้ในสามด้านหลัก ได้แก่ การคิด การเคลื่อนไหว และอารมณ์ความรู้สึก การป้องกันการเสื่อมถอยของสุขภาพสมอง จำเป็นต้องเข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อสมอง ซึ่งประกอบด้วยปัจจัยพื้นฐานทางคลินิก ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลรังสีวิทยา และข้อมูลสุขภาพดิจิทัล (digital health data) เช่น ข้อมูลจากอุปกรณ์สวมใส่ (wearable devices) และแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ การรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ไว้ในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นวิธีสำคัญที่ช่วยให้สามารถวิเคราะห์ความสัมพันธ์อันซับซ้อนของปัจจัยต่างๆ ได้อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ อันจะนำไปสู่การวิจัยต่อยอดเพื่อพัฒนาแนวทางที่มีประสิทธิภาพในการดูแลและส่งเสริมสุขภาพสมองให้ดียิ่งขึ้น
โดย นางสาวชุติพร ชาญณรงค์ มีเกียรติประวัติต่างๆ เช่น
ปี 2566 |
|
ปี 2565 |
|
ปี 2564 |
|
ปี 2561 |
|
ปี 2560 |
|
นายฐิติพัฒน์ พัฒนาประทีป
นายฐิติพัฒน์ พัฒนาประทีป นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดลเสนอโครงการ “การหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพเพื่อการวินิจฉัยแรกเริ่มและการพยากรณ์โรคไตเรื้อรังจากโรคเบาหวาน ในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง
โดยใช้เทคโนโลยีเมแทบอโลมิกส์”
ท่านทราบหรือไม่ว่า “ครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้นมาจากโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน
และผู้ป่วยเหล่านั้นต้องประสบความทุกข์เพียงใดกับการรักษาบำบัดทดแทนไตไปตลอดชีวิต” ซึ่งสาเหตุสำคัญของ
การพยากรณ์โรคที่ไม่ดีนั้น มาจากการวินิจฉัยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานที่ไม่ทันการณ์ เนื่องจากการวินิจฉัยที่
ใช้ทางคลินิกในปัจจุบัน ยังไม่สามารถตรวจพบความเสียหายต่อไตในระยะแรกเริ่มจากโรคดังกล่าวได้ดีเพียงพอ
นายฐิติพัฒน์ มีความสนใจในด้านวักกะวิทยาและชีวเคมี จึงได้เสนอโครงการวิจัยซึ่งประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
เมแทบอโลมิกส์ (metabolomics) ในการตรวจหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) ที่สามารถใช้ในการวินิจฉัยในระยะแรกเริ่มและพยากรณ์การเกิดโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน (early diagnosis & prognosis prediction)
โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวานนั้นได้รับการตรวจรักษาที่ทันท่วงที มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ไม่ต้องประสบความทุกข์ในการรักษาบำบัดทดแทนไต รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคในอนาคต
โดย นายฐิติพัฒน์ พัฒนาประทีป มีเกียรติประวัติต่างๆ เช่น
ปี 2567 |
|
ปี 2566 |
|
ปี 2565 |
|
ปี 2564 |
|
นางสาวปัณณพร การกลจักร
นางสาวปัณณพร การกลจักร นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 6 จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
เสนอโครงการ “การศึกษาและวิเคราะห์รหัสทางพันธุกรรมของรกที่มีการตายคลอดไม่ทราบสาเหตุ โดยใช้เทคโนโลยีชีวสารสนเทศ”
นางสาวปัณณพร จะวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม (genomics และ transcriptomics) ในรกที่ตายคลอด โดยใช้เทคโนโลยีชีวสารสนเทศ (bioinformatics) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการที่ได้ดูแลครอบครัวที่มีการตายคลอดใน
ชั้นคลินิก จึงตระหนักได้ถึงความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ทั้งต่อครอบครัวและต่อทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย
และมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ สาเหตุของการตายคลอดยังไม่สามารถอธิบายอย่างชัดเจนได้ในปัจจุบัน
ทำให้ไม่สามารถให้คำแนะนำและป้องกันการตายคลอดในครรภ์ถัดไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาครั้งนี้นอกจากจะทำให้เข้าใจว่าพันธุกรรมของรกส่งผลต่อภาวะตายคลอดหรือไม่แล้ว ยังจะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางการรักษาเชิงป้องกันการสูญเสียประชากรจากการตายคลอด และยังได้พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญของการศึกษาโรคทางพันธุกรรมอื่นๆ รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมของประชากรไทยที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต
โดย นางสาวปัณณพร การกลจักร มีเกียรติประวัติต่างๆ เช่น
ปี 2566 |
|
ปี 2565 |
|
ปี 2564 |
|
ปี 2563 |
|
ปี 2562 |
|
ปี 2561 |
|
**********
ดาวน์โหลดเอกสารงานแถลงข่าว >> PMAYP2567_pressrelease_TH <<